มี 2 วิธี
การเชื่อมโลหะใต้ทะเลมี 2 แบบ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ “การเชื่อมเปียกในน้ำ” (wet water welding) คือใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ให้กำลังไฟประมาณ500 แอมแปร์ ซึ่งอยู่ที่ผิวน้ำ ส่งกระแสไฟตามสายเคเบิลที่หุ้มฉนวนไปยังขั้วไฟฟ้าของช่างเชื่อมใต้น้ำ ซึ่งขั้วไฟฟ้านั้นเคลือบขี้ผึ้งหรือสีกันน้ำ เพื่อป้องกันกระแสไฟ “รั่ว” ในน้ำจนอ่อนกำลังลง
แต่การเชื่อมเปียกในน้ำมีปัญหาใหญ่คือ น้ำจะทำให้โลหะที่จะเชื่อมเย็นลงเร็วมาก เป็นผลให้ส่วนที่เชื่อมแข็งแต่ก็เปราะมากด้วย เมื่อน้ำโดนความร้อนจากการเชื่อมจะเกิดแก๊สออกซิเจนและไฮโดรเจนขึ้น แก๊ส 2 ชนิดนี้จะซึมผ่านรอยเชื่อมเข้าไปขณะที่ยังร้อน ทำให้รอยเชื่อมเปราะยิ่งขึ้นอีก
ข้อจำกัดอีกประการหนึ่ง คือไม่สามารถทำได้ที่ความลึกเกินกว่า 90 ม. เพราะความดันของน้ำมากเกินกว่าที่กระแสไฟฟ้าจะเกิดเปลวแลบได้
วิธีเชื่อมแบบที่ 2 คือ “การเชื่อมแห้งในถังครอบ” (dry chamber welding) สามารถใช้กับใต้น้ำลึกกว่าและให้รอยเชื่อมคุณภาพดีกว่า แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง
ในขั้นแรก เขาจะใช้ถังหรือครอบพลาสติกใสที่แข็งแรงทนทานครอบพื้นที่ซึ่งจะเชื่อมไว้ แล้วไล่น้ำออกโดยเป่าลมจากถังอัดอากาศเข้าไปในถังนั้น เพื่อให้เนื้อที่โลหะรอบ ๆ รอยเชื่อมนั้นแห้ง
ด้านล่างของถังจะเปิดเพื่อให้ช่างสามารถใช้หัวเชื่อมสอดเข้าไปทำงานได้ อากาศในถังจะกันไม่ให้น้ำเข้า บางครั้งควันและไอน้ำซึ่งเกิดจากการเชื่อมอาจทำให้ช่างเชื่อมมองเห็นไม่คอยชัดว่าเชื่อมไปถึงไหนแล้ว
งานเชื่อมที่ยากขึ้นอาจใช้วิธี “เชื่อมในถังครอบความดันสูง” (high pressure chamber) ซึ่งเป็นถังขนาดใหญ่พอที่จะให้ช่างเชื่อมเข้าไปอยู่ข้างในได้ทั้งตัว วิธีนี้ใช้ได้ผลดีพอ ๆ กับการเชื่อมบนบก แต่สิ้นเปลืองมากเพราะต้องออกแบบสร้างถังขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้ครอบเนื้อที่ท่อส่งน้ำมัน หรือข้อต่อที่ต้องการซ่อมได้พอดี ทั้งยังต้องอุดรอยรั่วในน้ำเข้าถังซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงเช่นกัน และต้องใช้เรือหนุนช่วยอย่างน้อย 1 ลำ พร้อมด้วยเรื่อปั้นจั่นสำหรับหย่อนถังลงไปและยกกลับขึ้นมา
บางถังอาจมีขนาดใหญ่มากพอใช้ช่างหลายคนเข้าไปทำงานและพักผ่อนระหว่างการทำงานด้วย ถังแบบนี้ใช้กับน้ำลึกตั้งแต่ 300 ม. ขึ้นไป
เมื่อบริษัทขุดเจาะน้ำมันลึกลงไปทุกที ก็จำต้องเชื่อมโลหะใต้ทะเล ที่ระดับความลึกจนถึง 600 ม. วิศวกรหวังว่าอีกไม่นานก็จะสามารถใช้เทคนิค“เชื่อมแห้งในถังครอบ” ที่บริเวณใต้น้ำลึกระดับนี้ได้ แต่การเชื่อมระดับลึกมาก ๆ ขนาดนี้คงต้องใช้หุ่นยนต์ควบคุมจากระยะไกลทำงานแทนช่างเชื่อม
|
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
การเชื่อมใต้น้ำ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น